วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

OPAC

Opac โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

วิธีใช้ สารานุกรม
สารานุกรมทุกชนิดจะเรียงลำดับตามตัวอักษรของเนื้อเรื่องทุก ๆ บทความ และมีส่วนต่างๆ ที่ช่วยให้เราค้นหาเรื่องที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว คือ
1. มี VOLUME GUIDE คือตัวแนะหรือตัวช่วยค้น
2. มีดรรชนีช่วยในการค้นหาเรื่องที่เราต้องการ มักจะอยู่ท้ายเล่มของทุกเล่ม หรือมี ดรรชนีรวมอยู่เล่มสุดท้ายของชุด
3. บทความหรือหัวข้อเรื่องที่มีชื่อประกอบหลายคำให้ใช้คำแรกเป็นหลัก
4. หัวเรื่องที่มีคำย่อให้ดูที่คำเต็ม เช่น Mt. Everest ให้ดูที่ Mount Everest
5. สำหรับสารานุกรมภาษาอังกฤษเมื่อต้องการหาเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลให้ดูที่ชื่อสกุลหรือชื่อสุดท้ายเป็นหลัก

ความสำคัญของหนังสือสารานุกรม
ความรู้ในวิชาการตลอดจนเรื่องราวข่าวสารข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ธรรมชาติ และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยพฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดพัฒนาการในตัวคน และสังคม วิชาการเป็นทรัพย์สินทางปัญญามนุษยชาติ เป็นแหล่งทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้นยิ่งใช้ก็ยิ่งเพิ่มพูน พัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มมาจนถึงปัจจุบันได้อาศัยทรัพย์สินทาง ปัญญาที่บรรพชนสร้างไว้ และบันทึกไว้ เป็นมรดกตกทอดถึงชนในรุ่นปัจจุบัน หนังสือสารานุกรมเป็นหนังสือซึ่งรวมวิชาความรู้ และเรื่องราวต่างๆ ที่มนุษย์เรียนรู้และได้คิดสร้างสรรค์ไว้ทั้งหมดจึงนับเป็นคลังทรัพย์สินทาง ปัญญา ที่บริบูรณ์ในตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้ใฝ่รู้สามารถอ่านเพื่อแสวงหา ความรู้ด้วยตนเองได้ทุกเวลาตามความสามารถของตน เหมือนห้องสมุดขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ตามผู้เป็นเจ้าของ ความรู้ในหนังสือสารานุกรมที่สร้างขึ้นใน แต่ละยุคแต่ละสมัยจะทันสมัยที่สุดสำหรับยุคนั้นๆ
นอกจากจะเป็นคลังทรัพย์สินทางปัญญาของมนุษย์แล้ว หนังสือสารานุกรมยังมีส่วนในการสร้างและพัฒนาวิธีการจัดระบบความรู้ต่างๆ มีการจัดหมวดหมู่ความรู้ เรียงลำดับความสำคัญของความรู้ ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ การสร้างคำแทนเนื้อเรื่อง และการเลือกคำสำคัญที่มีอยู่ในเรื่องแต่ละเรื่องมาจัดทำเป็นดัชนีค้นเรื่อง ท้ายเล่มหรือในเล่มสุดท้ายของชุดทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาเรื่อง ที่ต้องการ วิธีการเหล่านี้เป็นต้นเค้าส่วนหนึ่งของวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์ในปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้ สารานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงซึ่งห้องสมุดทุกแห่งจำเป็นต้องมี ผู้สนใจใฝ่หาความรู้บางคนที่มีกำลังทรัพย์พอจะซื้อไว้เป็นของตนก็จะซื้อไว้ เพราะจะค้นหาเรื่องราวที่ต้องการได้เกือบทุกเรื่องในเวลาจำกัด หนังสือสารานุกรมในปัจจุบันมีมากมายหลายประเภท หลายรูปแบบมีทั้งสำหรับเด็กและสำหรับผู้ใหญ่ และมีหนังสือสารานุกรมทั่วไป และสารานุกรมเฉพาะวิชา

แหล่งที่มา : http://guru.sanook.com

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 2

ประวัติและวิวัฒนาการของสารานุกรม

จากการสำรวจพบว่าหนังสือที่รวบรวมความรู้มีต้นกำเนิดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๓๐ ก่อนคริสตกาลโดยได้มีผู้รวบรวมเนื้อหา
ความรู้ทั้งทางด้านปรัชญา ศิลปะ และความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ รวบรวมเป็นหนังสือ ซึ่งหนังสือรวมความรู้ในยุคนั้นได้
สูญหายไปเกือบหมดแล้ว มีเพียงบางส่วนที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันหนังสือรวมความรู้ที่เก่าแก่และคงความสมบูรณ์ไว้มากที่สุด
คือ Historia Naturalis ซึ่งมีต้นกำเนิดในช่วงปี ค.ศ.๗๗ โดยนักเขียนชาวโรมัน ชื่อ Pliny the Elder อ้างอิงข้อมูลจาก
Encycloprdia – MSN Encarta

ยุคต่อมาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ โดยยุคนี้เป็นยุคฟื้นฟูของการศึกษาอารยธรรมและภาษาโบราณ
(Renaissance) ทำให้หนังสือรวมความรู้ในยุคนี้ มีการบรรยายเนื้อหาด้วยภาษา ที่มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง หนังสือที่มีความ
สำคัญมากที่สุดของยุคนี้ คือ Speculum majus (Great Mirror) ซึ่งถูกรวบรวมขึ้นจากงานเขียนของผู้เชี่ยวชาญกว่า ๔๕๐ คน
โดยนักบวชในศริสตศาสนาชื่อ Vincent of Beauvais เมื่อช่วงกลาง ของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ โดยหนังสือชุดนี้ ยังก่อให้เกิด
ความสนใจ ต่อการศึกษาด้านวรรณคดีโบราณอีกด้วย (Encyclopedia – MSN Encarta)

สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopedia Britannica) เป็นหนังสือชุดแรกที่เป็นสารานุกรมอย่างแท้จริงถูกตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรก
เป็นภาษาอังกฤษที่เมืองเอดินเบิร์ก (Edinberg) ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. ๑๗๖๘–๑๗๗๑ สารานุกรมบริเตนนิกาเป็น
สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งเขียนและเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา ซึ่งเป็นสารานุกรมที่ได้รับความนิยม
จากผู้ใช้งานได้ตีพิมพ์ออกมาอีกหลายครั้ง (edition) สารานุกรมบริเตนิกา เป็นต้นแบบในการจัดทำสารานุกรมในยุคต่อๆ มา
เพราะหลังจากที่สารานุกรมบริเตนนิกาถูกเผยแพร่ได้มี สารานุกรมรูปแบบเดียวกันเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งในปัจจุบันสารานุกรม
บริเตนนิกา มีการตีพิมพ์บทความมากกว่า ๐๐,๐๐๐ บทความ (
อ้างอิงข้อมูลจากสารานุกรมวิกิพีเดีย) ตัวอย่างสารานุกรม
บริเตนิกาในยุคแรกอย่างสารานุกรมบริเตนนิกา ณ หอสมุดของมหาวิทยาลัยแห่ง Groningen ประเทศเนเธอร์แลนด์
และตัวอย่างสารานุกรมบริเตนนิกา ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. ๒๕๕๐)ในรูปแบบซีดีดังรูปสารานุกรมบริเตนนิกาปี ค.ศ. 2007 ดังนี้

ตัวอย่างสารานุกรมบริเตนนิกาในยุคแรก

 

สารานุกรมบริเตนนิกา ณ หอสมุดของมหาวิทยาลัยแห่ง Groningen ประเทศเนเธอร์แลนด์

 

สารานุกรมบริเตนนิกา ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ.๒๕๕๐) ในรูปแบบซีดี

 

สารานุกรมอเมริกานา ของประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1829-ค.ศ. 1833 (พ.ศ. ๒๓๗๒–พ.ศ. ๒๓๗๖) เป็น
สารานุกรมที่เขียนและเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาเช่นเดียวกับสารานุกรมบริเตนนิกา ซึ่งสารานุกรมอเมริกาได้มีการ
ตีพิมพ์มากกว่า
๐๐,๐๐๐ บทความ โดยแสดงรูปตัวอย่างสารานุกรมอเมริกาในยุคแรก ส่วนประเทศไทยมีสารานุกรมเกิดขึ้น
เป็นเล่มแรกของประเทศไทยมีชื่อว่า “สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน” ซึ่งฉบับล่าสุด (ปี ๒๕๕๐) มีการตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.
๒๕๔๙ เป็นเล่มที่ ๒๖ โดยรูปตัวอย่างสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” ในยุคแรกแสดงดังรูปตัวอย่างสารานุกรมไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถานในยุคแรก

ตัวอย่างสารานุกรมอเมริกานาในยุคแรก

 

ตัวอย่างสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานในยุคแรก

 

วิวัฒนาการย่อของสารานุกรมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

สารานุกรมยุคปัจจุบันได้ถูกปรับปรุงไปตามวิวัฒนาการทั้งด้านเนื้อหา ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นและรูปแบบในการ
เผยแพร่ที่แตกต่างกันออกไป ปัจจุบันสารานุกรมถูกเผยแพร่อย่างแพร่หลาย ในรูปแบบของหนังสือสารานุกรม ซีดีสารานุกรม
และเว็บไซต์สารานุกรมเพื่อให้ ผู้อ่านสามารถเลือกใช้งานได้เหมาะสม และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว
มากกว่าในอดีต ภาพรวมของการสำรวจข้อมูลสารานุกรมดังกล่าวทั้งหมด สามารถสรุปรวมในรูปของวิวัฒนาการย่อของ
สารานุกรมนำเสนอในรูปวิวัฒนาการย่อของสารานุกรม ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

แหล่งที่มา : http://www.thaitelecomkm.org/TTE/News/a_Biography_and_Evole/index.php

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 1

สารานุกรม คือเรื่องคัดย่อที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับการรวบรวมความรู้ เป็นคำสมาสจากคำว่า"สาร"และ"อนุกรม" กล่าวคือเป็นความรู้ที่เป็นเรื่องราวถูกจัดเรียงในลำดับ จะมีทั้งประเภทความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะด้านเช่น สารานุกรมการเกี่ยวกับการแพทย์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือ จัดทำเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ เช่น สารานุกรมสำหรับเยาวชน

สารานุกรมที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopædia Britannica) สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการตีพิมพ์ [1] ตีพิมพ์ฉบับแรกในภาษาอังกฤษในช่วงปี พ.ศ. 2311-2314 (ค.ศ. 1768–1771) ในเมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์และจำหน่ายในฉบับซีดี

สารานุกรมสามารถเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป ดังที่ปรากฏในสารานุกรมที่มีชื่อเสียง สารานุกรมบริเตนนิกาในภาษาอังกฤษและสารานุกรมบร็อกเฮาส์ (Brockhaus)ในภาษาเยอรมัน หรือสารานุกรมอาจจะเป็นเรื่องราวเฉพาะทางเช่น สารานุกรมเกี่ยวกับ การแพทย์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หรืออาจจะเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละภูมิภาค ประเทศ หรือกลุ่มชน และขณะที่บางสารานุกรมจัดทำขึ้นเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เช่นสารานุกรมสำหรับเยาวชน ที่จะมีเนื้อหาที่อ่านง่าย และเข้าใจง่าย สารานุกรมจะใช้การจัดเรียงหัวข้อ 2 ลักษณะ คือ เรียงตามอักขระ และ เรียงตามกลุ่มเนื้อหา ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาของเทคโนโลยีได้มีการนำสารานุกรมมาจัดเก็บในรูปแบบใหม่รวมถึงการจัดเรียงลำดับข้อมูล ดังตัวอย่างเช่นโครงการวิกิพีเดีย และ เอชทูจีทู (h2g2) เพื่อให้การใช้งานสารานุกรมง่ายต่อการใช้

สารานุกรมเป็นคำสมาสจากคำ สาร และ อนุกรม มีความหมายรวมว่า สาระ หรือ เรื่องราว ซึ่งมีการจัดเรียงเป็นลำดับ หมวดหมู่ คำว่าสารานุกรมในภาษาอังกฤษ คือ Encyclopedia หรือ Encyclopædia ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก εγκύκλιος παιδεία (enkyklios paideia; "in a circle of instruction") จากคำว่า εγκύκλιος หมายถึง circuit shaped. โดย κύκλος หมายถึง circuit และ παιδεία หมายถึง instruction. คำว่า Encyclopedia นี้บางครั้งก็ใช้ว่า Cyclopaedia ซึ่งให้ความหมายเหมือนกัน

ในประเทศไทยมีโครงการจัดทำ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับกาญจนาภิเษก โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ที่มีลักษณะคล้ายสารานุกรม

แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1